ฟิล์มยืด มีคุณสมบัติอย่างไร สามารถใช้งานแบบไหนได้บ้าง

ฟิล์มยืด มีคุณสมบัติอย่างไร สามารถใช้งานแบบไหนได้บ้าง

 ฟิล์มยืดพันสิ่งของ

“ฟิล์มยืด” เป็นฟิล์มพลาสติกประเภทหนึ่งที่ถูกพูดถึงและนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการนำมาห่อหุ้มสินค้าเพื่อใช้ในสำหรับเตรียมขนย้าย หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าฟิล์มยืดที่ดูภายนอกทั้งใสและบางขนาดนี้ จะแข็งแรง ปลอดภัย และช่วยลดความเสียหายของสินค้าจากการขนส่งได้จริงหรือไม่ มีคุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างไร และสามารถใช้งานแบบไหนได้บ้าง ? วรกุลชัยได้รวมทุกข้อสงสัย มาตอบรวมไว้ในบทความนี้

ฟิล์มยืด คืออะไร

ฟิล์มยืด (Stretch Film) หรือที่เราคุ้นหูกันดีในชื่อ ฟิล์มพันพาเลท เป็นฟิล์มพลาสติกที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในด้านของความเหนียว สามารถยืดตัวได้ดี แต่ในขณะเดียวกันก็มีความบางและใส สามารถมองเห็นสินค้าที่ผ่านได้ จึงนิยมนำมาใช้ในการห่อหุ้มสินค้า เพื่อช่วยลดความเสียหาย พร้อมทั้งปกป้องและรักษาสินค้าในขณะขนส่ง หรือจัดเก็บ 

ฟิล์มยืดมีกี่ประเภท

การเลือกใช้ฟิล์มยืดพันพาเลทที่เหมาะสมสำหรับการห่อสินค้านั้นถือเป็นสำคัญ เพราะฟิล์มยืดแต่ละประเภท ก็มีคุณสมบัติที่ต่างกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ฟิล์มยืดให้เหมาะกับลักษณะงานและสินค้าที่จะห่อหุ้ม 

แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

  1. ฟิล์มยืดแบบพันมือ (Hand Roll Stretch Film)

เป็นอุปกรณ์ม้วนด้วยมือโดยจะมี Hand Wrapper ในการช่วยการดึงแรง สามารถพันได้ตั้งแต่สินค้าขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีข้อดีคือประหยัดต้นทุน เพราะการอุปกรณ์นี้จะช่วยให้ประหยัดตัวฟิล์มพลาสติกยืด ได้เพราะสามารถดึงให้ฟิล์มยืดได้ถึง 80% เป็นการใช้แรงงานคนในการพันม้วนฟิล์ม สามารถห่อพันรอบสินค้าได้ด้วยมือ โดยไม่ต้องลงทุนต่อการใช้อุปกรณ์ และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรอื่นๆ ร่วมด้วย จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง และมีสินค้าจำนวนไม่มากนัก

โดยฟิล์มแบบพันมือ หรือใช้มือดึงนี้นิยมใช้กัน อย่างแพร่หลายมาก ซึ่งตัวฟิล์มนั้นจะมีความหนา ตั้งแต่ 9 – 30 ไมครอน และมีหน้ากว้าง ประมาณ 50 เซนติเมตร

  1. ฟิล์มยืดแบบพันเครื่อง (Machine Roll Stretch Film)

เป็นการพันฟิล์มยืดพันพาเลทแบบใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือ เครื่องพันฟิล์มยืด เหมาะกับอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีสินค้าจำนวนมาก และต้องการความแม่นยำ ปลอดภัย สะดวกสบายต่อการขนย้าย และช่วยลดจำนวนคนนั่นเอง โดยสามารถใช้ได้กับทางเครื่องพันพาเลทแบบฐานหมุนและเครื่องพันฟิล์มยืดแบบแขนแกว่ง 

โดยฟิล์มประเภทนี้มักจะมีหลากหลายชั้นความหนา ตามประเภทของการใช้งาน โดยความหนาที่แตกต่างของแต่ละแบบนั้น จะให้ความสำคัญกับการปกป้องสินค้า ความแข็งแรงสำหรับการเคลื่อนย้าย ซึ่งปกติแล้ว ฟิล์มยืดแบบพันเครื่องจะมีความหนาตั้งแต่ 12 – 35 ไมครอน และมีแรงยืด 250% และ 300% 

ฟิล์มยืดพันพาเลท
  1. ฟิล์มยืดไร้แกน (Coreless Stretch Film)

ฟิล์มยืดประเภทนี้เป็นฟิล์มพันพาเลทคุณภาพสูง ออกแบบให้ไม่มีแกนกระดาษ ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นหลังการใช้งาน และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บได้อีกด้วย

สำหรับตัวเนื้อฟิล์มก็มีคุณภาพเทียบเท่าฟิล์มยืดพันสิ่งของทั่วไปมีความแข็งแรง ทนทาน และสะดวกกับผู้ใช้มากขึ้น เพราะมีน้ำหนักเบา สามารถพันสินค้าได้จนหมดม้วน โดยที่ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งาน หรือทำให้คุณสมบัติของฟิล์มลดลงแต่อย่างใด

แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม

ซึ่งถ้าหากเราแบ่งฟิล์มยืดตามประเภทอุตสาหกรรมจะสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. ฟิล์มยืดสำหรับอาหาร 

ส่วนใหญ่ฟิล์มยืดที่ใช้สำหรับอาหารมักเป็น ฟิล์มห่อของที่ผลิตจากพลาสติก PVC และ PP เนื่องจากต้องสัมผัสกับอาหารเพื่อการบริโภคโดยตรง เนื้อฟิล์มประเภทนี้จึงจะมีความใสและไม่เหนียวมากนัก

  1. ฟิล์มยืดสำหรับการขนส่ง 

ฟิล์มยืดสำหรับการขนส่ง หรือที่เรียกกันว่า ฟิล์มยืดพันพาเลทส่วนใหญ่มักเป็นพลาสติกยืดที่ผลิตจาก PE ชนิดเม็ดพลาสติก LDPE, LLDPE, EVA ความหนาแน่นต่ำ ซึ่งจะไม่นิยมนำมาใช้กับอาหาร แต่นิยมนำมาใช้กับการขนส่งสินค้าแทน เนื่องจากพลาสติกประเภทนี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องของความแข็งแรง ใช้งานได้ง่าย และมีต้นทุนต่ำ

 ประเภทของเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตฟิล์มยืด 

เม็ดพลาสติก เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิต ฟิล์มยืด ซึ่งเม็ดพลาสติกแต่ละประเภทนั้นก็มีคุณสมบัติที่โดดเด่นแตกต่างกัน มาดูกันว่าเม็ดพลาสติกที่นิยมใช้การผลิตฟิล์มยืดนั้น มีอะไรบ้าง 

1. โพลีเอทิลีน (PE)

เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน หรือที่เราเรียกย่อๆ ว่า PE นั้น มีคุณสมบัติเดนในเรื่องของความแข็งแรง ทนทาน เหนียว ทนต่อกรดและด่างอ่อน สามารถป้องกันไม่ให้ความชื้นผ่านเข้าออกได้ อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา และมีความยืดตัวสูง จึงทำให้ฟิล์มยืดที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกประเภทนี้มีคุณสมบัติที่ทนต่อแรงดึง และสามารถยืดได้มาก

2. โพลีโพรพิลีน (PP)

เม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ PP พลาสติก มักนิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก เนื่องจากพลาสติกประเภทนี้มีความแข็งแรงทนทานกว่าแบบ PE รวมถึงทนต่อสารจำพวกไขมันและความร้อนได้สูง ไอน้ำสามารถซึมผ่านได้น้อย จึงนิยมนำมาผลิตเป็นแผ่นพลาสติก และบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC)

สำหรับพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ หรือ พลาสติก PVC ก็เป็นประเภทพลาสติกที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ลักษณะเด่นของพลาสติกประเภทนี้จะเป็นเม็ดพลาสติกที่มีความใส ไอน้ำและอากาศสามารถซึมผ่านได้เล็กน้อย และป้องกันไขมันได้ดี จึงนิยมใช้บรรจุน้ำมัน เครื่องปรุงที่มีไขมัน และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการห่อหุ้ม

ฟิล์มยืด Nano

ข้อแนะนำในการพิจารณาการเลือกซื้อฟิล์มยืดให้เหมาะสมกับการใช้งาน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเม็ดพลาสติกแต่ละประเภทนั้นก็มีคุณสมบัติในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาเลือกฟิล์มยืดให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือการใช้งาน เพื่อเราจะได้สามารถรักษาคุณภาพสินค้า หรือสิ่งของที่จะถูกบรรจุให้ปลอดภัย โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติดังนี้

  • ความยืดหยุ่น 

ก่อนอื่นเราควรตรวจสอบคุณสมบัติหลักในด้านความยืดหยุ่นหรือความสามารถในการยืดของฟิล์ม ว่าสามารถปรับตัวหรือยืดตามรูปร่างของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ฉีกขาดระหว่างการพันรอบตัวสินค้า

  • ความแข็งแรง ทนทาน 

ไม่เพียงแต่การทดสอบในเรื่องของการดึงและการยืดเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานควรตรวจสอบ ความทนทานของฟิล์มยืด ว่าสามารถทนทานต่อแรงกดหรือแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างขนส่งได้หรือไม่ เพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างปลอดภัย และไม่มีการเสียหายของสินค้าเกิดขึ้น

  • ความใสของฟิล์ม

ตรวจสอบความโปร่งใสของตัวฟิล์มว่าสามารถมองเห็นสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในได้ชัดเจนหรือไม่ เพราะความใสของฟิล์มช่วยให้สินค้าที่บรรจุภายในดูสวยงาม โดดเด่น และช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อของลูกค้าได้มากขึ้น

  • ความยืดหยุ่นตามอุณหภูมิ 

นอกจากการทดสอบความยืดหยุ่นในขณะที่ดึงแล้ว การทดสอบความยืดหยุ่นหรือการหดตัว ในสภาวะอากาศที่ต่างกัน ก็มีความสำคัญเช่นกัน แนะนำให้ลองทดสอบความยืดหยุ่นของฟิล์มที่อุณหภูมิต่ำ ก่อนนำไปใช้พันสินค้าจริง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย กรณีธุรกิจที่ต้องส่งออกสินค้าไปยังพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจัด

  • เลือกให้เหมาะกับประเภทการใช้งาน 

การเลือกฟิล์มยืดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทอุตสาหกรรมและการใช้งาน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ สามารถใช้งานฟิล์มยืดได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ใช้ฟิล์มยืดที่สามารถป้องกันความชื้น ก๊าซ หรือกินได้ดี ในอุตสาหกรรมประเภทอาหาร และใช้ฟิล์มยืดที่มีความทนทาน แข็งแรง ทนต่อแรงดึงได้ดี ในอุตสาหกรรมการขนส่ง เป็นต้น

  • คุณภาพของเม็ดพลาสติก

ตรวจสอบให้ดีว่าเม็ดพลาสติกที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักของฟิล์มยืดนั้น เป็นเม็ดพลาสติกที่คุณภาพดี และมีความเหมาะสมกับงาน ซึ่งเม็ดพลาสติกในแต่ละประเภทนั้น ก็มีคุณสมบัติในการทนความร้อนและความชื้นแตกต่างกันไปด้วย

อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้ ฟิล์มยืด

นอกจากตัวฟิล์มยืดเองแล้ว อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้ฟิล์มยืดแต่ละประเภท ก็มีความจำเป็นและความสำคัญเช่นกัน ซึ่งอีกหนึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญในการกําหนดคุณสมบัติของ ฟิล์มยืด ที่จะใช้ รวมทั้งลักษณะของสินค้า ผลิตภัณฑ์ รูปทรง การเรียง ความเปราะบาง ความทนต่อแรงกด วิธีการจัดเรียงสินค้าบนแท่น ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพิจารณาฟิล์มยืดเช่นกัน 

1. เครื่องพันพาเลทแบบจานหมุน 

เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ตัวเครื่องทำงานด้วยการห่อหุ้มสินค้าหรือวัสดุจากด้านล่างขึ้นไปยังด้านบน มีทั้งแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ สามารถปรับความสูงและปรับรอบในการพันฟิล์มได้ จึงเหมาะกับวัสดุหลายขนาด

2. เครื่องพันพาเลทฟิล์มยืดแบบแขนเหวี่ยง

เครื่องพันพาเลทแบบแขนเหวี่ยง เป็นการใช้งานฟิล์มยืดพันพาเลทร่วมกับเครื่องที่ทำงานร่วมกับสายพานการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริเวณตัวเครื่องจะมีแขนของเครื่องจักร คอยทำหน้าที่ในการพันฟิล์มยืดรอบๆ ตัวสินค้าหรือวัสดุที่อยู่กับที่ เครื่องพันฟิล์มประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับสินค้าหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่ต้องการใช้ความระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย 

3.เครื่องพันพาเลทฟิล์มยืดแบบหุ่นยนต์

เครื่องพันพาเลทแบบหุ่นยนต์ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดในบรรดาเครื่องพันพาเลททั้ง 3 ประเภท ทำงานโดยใช้ระบบสัมผัสผ่านหน้าจอ LCD ในการควบคุมการเคลื่อนไหวรอบ ๆ พาเลท เพื่อให้ฟิล์มพันรอบสินค้าหรือวัสดุได้ มีความแม่นยำและมีคุณภาพมากที่สุด เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือน้ำหนักมาก 

Robowrap

3 รุ่น ฟิล์มยืดพันพาเลทคุณภาพดีจาก วรกุลชัย

วรกุลชัย คัดสรรฟิล์มยืดพันพาเลทคุณภาพสูง มาจัดจำหน่ายเพื่อตอบโจทย์งานใช้งานที่ครอบคลุมในทุกธุรกิจ วันนี้เราจึงอยากแนะนำ 3 รุ่นที่น่าสนใจ และมาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากฟิล์มทั่วไป 

1.ฟิล์มยืดพันพาเลท RoboFilm สำหรับคันมือและพันเครื่อง

ฟิล์มยืด RoboFilm เป็นฟิล์มพันพาเลท คุณภาพเกรด A มีให้เลือกทั้งสำหรับใช้มือ และสำหรับใช้เครื่อง โดดเด่นที่เนื้อฟิล์มใส สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในได้ชัดเจน อีกทั้งยังมี ความทนทาน ช่วยป้องกันสินค้าจากรอยขีดข่วน ฝุ่นละออง ไอน้ำ และสิ่งสกปรกต่างๆ เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ และขนส่งทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ฟิล์มยืดพันพาเลท RoboFilm

2.ฟิล์มยืด Nano Ultra Thin Strech Film

ฟิล์มยืดประเภทนี้ เป็นรุ่นที่ มีการนำเอาเทคโนโลยี ฟิล์มยืด นาโน  Nano Ultra Thin Strech Film เข้ามาร่วมด้วย จนได้เป็นฟิล์มพันพาเลทที่มีเนื้อฟิล์มถึง 33 ชั้น ซึ่งฟิล์มยืดปกติจะมีเนื้อฟิล์มเพียง 5 ชั้นเท่านั้น ฟิล์มยืดนาโน รุ่นนี้ จึงมีความเหนียว ทนทาน ไม่ฉีกง่าย อีกทั้งยังเป็นรุ่นที่มีความยืดหยุ่นพิเศษ จึงลดปริมาณการใช้ ประหยัดต้นทุนกว่าฟิล์มปกติ

ฟิล์มยืด Nano Ultra Thin Strech Film

3. ฟิล์มยืด Eco Lite Film

สำหรับฟิล์มยืดรุ่นนี้ เป็นฟิล์มประหยัดพลังงาน ที่มีการนำเอาเทคโนโลยี Eco Lite Film 

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางเลือกใหม่มาใช้ จนได้เป็นฟิล์มยืดพันพาเลทที่มีการขับขอบฟิล์มเพิ่มความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูงถึง 200%-300% ทำให้ลดปริมาณในการพันฟิล์มรอบสินค้า ช่วยประหยัดต้นทุนกว่าฟิล์มยืดปกติ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้งาน ใช้แรงในการยืดฟิล์มน้อยกว่าปกติด้วย

ฟิล์มยืด Eco Lite Film 

วิธีการเก็บรักษาฟิล์มยืดให้ถูกวิธี

การจัดเก็บฟิล์มยืดให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และคงประสิทธิภาพสูงสุดไว้ได้ มี 3 วิธีที่ผู้ใช้งานควรปฏิบัติตาม ดังนี้

  1. เก็บฟิล์มยืดในที่มีฝุ่นละอองน้อย

ฝุ่นละอองถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพของฟิล์มยืดลดลง ผู้ใช้งานควรเก็บฟิล์มยืดในบริเวณที่มีฝุ่นละอองน้อย หรือถ้าหากฟิล์มยืดมีฝุ่นละอองเกาะติดมาด้วย แนะนำให้ใช้ความร้อน กาว หรือการผูกรัดเข้ามาช่วย

  1. จัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม

โดยปกติแล้วการเก็บรักษาฟิล์มยืดควรจะจัดเก็บอยู่ในอุณหภูมิประมาณ 30-54 องศาเซลเซียส เพราะหากจัดเก็บฟิล์มยืดอยู่ในอุณหภูมิที่สูงเกินไป ก็อาจจะทำให้ฟิล์มเกิดการคลายตัว แต่หากจัดเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป ก็อาจจะทำให้ฟิล์มยืดมีความเหนียว และมีความสามารถในการยึดเกาะน้อยลงด้วยเช่นกัน

  1. เก็บรักษาในความชื้นที่เหมาะสม

ไม่เพียงแต่อุณหภูมิเท่านั้นที่เป็นปัจจัยที่มีผล ต่อคุณภาพของฟิล์มยืด แต่ความชื้นก็มีผลกระทบไม่แพ้กัน เพราะสารในฟิล์มยืดจะทำงานได้ดีในที่ที่มีความชื้นสูง ส่งผลให้ฟิล์มยึดติดกัน และแกะออกจากสินค้าได้ยาก

การเลือกใช้ ฟิล์มยืด ต้องพิจารณาจากลักษณะ และการตอบโจทย์ต่อการใช้งาน โดยต้องมีการคำนวณถึงทั้งสินค้า ขนาดของธุรกิจของเราเอง เพื่อประกอบการเลือกฟิล์มยืดที่เหมาะสม ทั้งนี้เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับหลายๆ คนที่อาจจะกำลังมองหาหรือพิจารณาเลือก ฟิล์มยืด อยู่ แต่ถ้าใครไม่อยากจะมานั่งเลือกให้ปวดหัว ที่ วรกุลชัย ก็มีฟิล์มยืด และผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบที่ได้มาตรฐานที่ พร้อมทั้งทีมที่ปรึกษาการขายที่พร้อมให้บริการอีกด้วย

สำหรับ​ใครที่สนใจ​ ฟิล์มยืดพันพาเลท เครื่องพันพาเลท หรือ​เครื่อง​จักร​อุตสาหกรรม​ประเภทอื่น​ๆ สามารถ​ติดต่อ​สอบถาม​และขอคำแนะนำ​ได้ตามช่องทางที่คุณสะดวก​

วรกุลชัย

Line​ ID​: @Worakulchai​

เบอร์โทร​: 02-868-5870-5

E-mail: info@worakulchai.com หรือสามารถติดตามเราได้ที่ช่องทาง : ​​https://www.youtube.com/@worakulchaipackagesealco.l2730