ช่างซ่อมบำรุงคือใคร มีหน้าที่อย่างไรในวงการอุตสาหกรรม

ช่างซ่อมบำรุงคือใคร มีหน้าที่อย่างไรในวงการอุตสาหกรรม

ช่างซ่อมบำรุง

ในยุคที่เครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการธุรกิจ​ และ​อุตสาหกรรม​ต่างๆ มากขึ้น ทำให้เราได้ยินคำว่า “ช่างซ่อมบำรุง” ผ่านหูผ่านตามากขึ้นเช่นกัน ในบทความนี้ วรกุลชัยจะพาคุณมาทำความรู้จักและเจาะลึกกันว่า ตำแหน่งช่างซ่อมบำรุงมีหน้าที่ และสำคัญอย่างไรในวงการอุตสาหกรรม

ช่างซ่อมบำรุงคือใคร ทำไมถึงสำคัญ? 

ช่างซ่อมบำรุง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษา ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การทำงานต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานตลอดเวลา งานของช่างซ่อมบำรุงครอบคลุมทั้งการตรวจสอบ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดความขัดข้อง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการผลิตและความปลอดภัยในโรงงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาร้ายแรงในวงการอุตสาหกรรม ทำให้โรงงานสูญเสียกำลังการผลิต เสียโอกาสในการรับงาน เสียเวลารวมถึงค่าใช้จ่าย ในการซ่อม หรือเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักรเหล่านั้น ดังนั้น ช่างซ่อมบำรุง จึงเป็นตำแหน่ง​สำคัญ​ที่จะช่วยดูแลเครื่องจักรให้อยู่ในความเรียบร้อย และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการหยุดเครื่องโดยที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ (Unscheduled Breakdown)

หน้าที่ของแผนกซ่อมบำรุง

หน้าที่ของช่าง​ซ่อมบำรุงนั้นจะอาจจะมีความแตกต่าง​กันบ้างตามแต่ละโรงงาน หรือแต่ละ​อุตสาหกรรม​ แต่จะมีหน้าที่หลักๆ ที่คล้ายกันอยู่ ลองมาดูกันว่า หน้าที่พื้นฐานของช่างซ่อมบำรุงนั้นมีอะไรบ้าง

1.การวางแผนงานในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร​

หน้าที่ของช่างซ่อมบำรุงไม่ได้หมายถึงเพียงการปรับปรุง แก้ไขเครื่องจักรให้กลับมาใช้งานได้เท่านั้น แต่หน้าที่ของช่างซ่อมบำรุง นั้นเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนเพื่อเตรียมในส่วนงานการบำรุงรักษา จัดวางตารางการเข้าตรวจเช็กเครื่องจักรเพื่อให้เวลาไม่ทับซ้อน และไม่กระทบต่อสายงานการผลิต โดยรายละเอียดงานจะมีทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตามระยะเวลาที่คู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้นๆ กำหนดไว้ รวมถึงการวางแผนงานซ่อมบำรุงประจำปีด้วย

หน้าที่ของช่างซ่อมบำรุง

2. การกำหนดมาตรฐานงานบำรุงรักษา

นอกจากจะวางแผนและกำหนดระยะเวลาในการซ่อมบำรุงแล้ว ช่างซ่อมบำรุง ยังมีหน้าที่ในการกำหนดวิธีการในการดูแล บำรุงรักษาเครื่องจักรแต่ละประเภท เพื่อเป็นมาตรฐานในการนำให้ความรู้ หรือไปฝึกอบรมบุคลากรในฝ่ายผลิต หรือฝ่ายซ่อมบำรุงเอง ให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุ ความผิดปกติ และแก้ไขความผิดปกติของเครื่องจักรในเบื้องต้นได้

3.การ​จัดเตรียมอะไหล่​สำหรับเครื่องจักร​ประเภท​ต่างๆ

นอกจากการวางแผนงานและระยะเวลาในการซ่อมบำรุงแล้ว อีกหนึ่งงานที่มีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ การจัดเตรียมอะไหล่สำหรับเครื่องจกรประเภทต่างๆ ให้เหมาะสม เนื่องจากเครื่องจักรโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทำให้อะไหล่บางตัวมีการสึกหรอ หรือเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน 

ช่างซ่อมบำรุง จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนจัดเตรียมชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ สำรองไว้ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนอะไหล่ตามรอบ หรือเปลี่ยนตามความเสียหาย รวมถึงคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอะไหล่ที่มีอยู่ในสต็อกเพียงพอหรือไม่ ทั้งในส่วนอะไหล่พื้นฐาน และอะไหล่เฉพาะทาง เพื่อทำการสั่งซื้อเข้ามาอย่างมีประสิทธิภาพ

4.การรับแจ้งซ่อมจากแผนกต่างๆ และทำการแก้ไข

ไม่ใช่เพียงการวางแผนซ่อมบำรุงเท่านั้น แต่ช่างซ่อมบำรุงยังมีหน้าที่รับเรื่องการแจ้งซ่อมจากผู้ปฏิบัติงานแผนกต่างๆ เมื่อเครื่องจักรเกิดมีปัญหาขัดข้องจนไม่สามารถทำงานต่อได้ แผนกซ่อมบำรุงมีหน้าที่ในการรับเรื่องแจ้งซ่อม จากนั้นจึงเข้าไปดูหน้างานเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และทำการแก้ไขให้เครื่องจักรสามารถกลับมาทำงานได้ปกติดังเดิม นอกจากนี้ ช่างซ่อมบำรุงยังต้องนำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก

งานของช่างซ่อมบำรุง​แบ่ง​ออก​เป็น​กี่ประเภท

โดยส่วนมาก​งาน​ซ่อมบำรุง​จะ​สามารถ​แบ่ง​ออก​ได้​หลากหลายตามลักษณะ​งานที่ทำ เป็น 3 ประเภท​ใหญ่ๆ ดังนี้ 

1. Reactive maintenance 

Reactive maintenance หรือเรียกอีกอย่าง​หนึ่ง​ว่า “การซ่อมบำรุงเชิงรับ” เป็นการซ่อมเครื่องจักรที่เสียอยู่แล้วให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ หรือเป็นการรอให้เครื่องจักรมีอาการติดขัด หรือเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำการซ่อมแซม ซึ่งงานซ่อมบำรุงประเภทนี้มีข้อควรระวังเนื่องจาก หากเครื่องจักรไม่ได้รับการบำรุงรักษา หรือตรวจสอบอยู่เป็นประจำ เมื่อเวลาผ่านไปโอกาสที่เครื่องจักรจะเสีย หรือขัดข้องในเวลาไล่เลี่ยกันมีสูงมาก ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการที่เจ้าของธุรกิจต้องเสียค่าซ่อมแซมเครื่องจักรก้อนใหญ่ และมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตตามไปด้วย

2. Preventive Maintenance 

Preventive Maintenance หรือเรียกอีกอย่าง​หนึ่ง​ว่า “การบำรุงรักษาเชิงป้อง​กัน” งานในลักษณะ​นี้จะมีการเก็บข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าชิ้นส่วนไหนจะต้องบำรุงรักษาอย่างไร เรียกได้ว่าเป็นการวางแผน​ซ่อม และบำรุงเครื่องจักร​แต่ละตัวก่อนที่จะเกิดปัญหาพัง หรือเสีย ซึ่งการบำรุงรักษา​เชิงป้องกันนี้เป็นงานซ่อมบำรุงอีกประเภทหนึ่งที่หลายอุตสาหกรรมนิยมนำไปใช้ มีข้อดีตรงที่ไม่เสียเวลา ไม่ทำให้เกิดการสะดุดในการทำงาน เครื่องจักรสามารถ​ผลิตได้อย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอุปกรณ์  IoT ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับและวิเคราะห์ความเสียหายได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพกว่าที่เคย

3. Proactive maintenance ​

Proactive maintenance หรือเรียกอีกอย่าง​หนึ่ง​ว่า “ การบำรุงเชิงรุก” การซ่อมบำรุง​ประเภทนี้ เป็นการผสมผสาน​กันระหว่างการซ่อมบำรุงแบบรับและการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันโดยจะมีการคำนวณ​และกำหนดช่วงเวลาเหมาะสม​ในการเข้ามาตรวจเช็กเครื่องจักร​ โดยวิเคราะห์​จากความหนักเบาในการใช้งาน อายุการใช้งาน ประวัติความเสียหาย เพื่อลดต้นทุนงานซ่อมให้มากที่สุด​

ช่าง Maintenance

เป้าหมายหลักของงานซ่อมบำรุงคืออะไร

เครื่องจักรอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรประเภทไหน เมื่อถูกใช้งานอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพ หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเครื่องจักรเกิดการสึกหรอ และเสียหาย ส่งผลให้เครื่องจักรเกิดการขัดข้อง ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเป้าหมายหลักของงานซ่อมบำรุง คือ การดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ ดังนี้

  • ลดอัตราความเสียหาย

หากเครื่องจักรได้รับความเสียหาย หรือระบบควบคุมอัตโนมัติเกิดการขัดข้อง ก็อาจส่งผลให้กระบวนการผลิตเกิดการสะดุด ร้ายแรงที่สุดก็อาจทำให้ต้องหยุดผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานในขั้นตอนอื่นๆ ทั้งคุณภาพของสินค้า ไปจนถึงระบบการจัดส่ง ซึ่งงานซ่อมบำรุงในส่วนการวางแผนงานเพื่อตรวจเช็กความเรียบร้อย และบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

  • ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร

เครื่องจักรนั้นถือเป็นต้นทุนสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม  ซึ่งงานซ่อมบำรุงในส่วนของการดูแลเครื่องจักร ระบบควบคุม สารหล่อลื่น แหล่งพลังงาน  และอะไหล่ต่างๆ เป็นอย่างดีนั้นจะช่วยลดปัญหาการเสียหาย ลดต้นทุนในการซ่อม และช่วยยืดอายุการใช้งานให้เครื่องจักรสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานและคุ้มค่ามากที่สุด

  • ซ่อมแซมเครื่องจักรให้ใช้งานได้ปกติ

เป็นธรรมดาที่เมื่อมีการใช้งานเครื่องจักรไปนานๆ แล้วอาจมีเหตุ ทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายจนไม่อาจทำงานต่อได้ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายหลักของงานซ่อมบำรุงที่ต้องเข้าไปประเมินอาการ วิเคราะห์สาเหตุ และทำการแก้ไข เพื่อให้เครื่องจักรสามารถกลับมาทำงานตามปกติให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อกระบวนการผลิต และการขนส่ง

ช่างซ่อมบำรุงต้องทำงานร่วมกับแผนกไหนบ้าง ?

แม้จะมีตำแหน่งเป็นช่างซ่อมบำรุง ก็ใช่ว่าจะทำงานอยู่กับเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว แต่ช่างซ่อมบำรุงยังต้องทำงานร่วมกันกับแผนกอื่นๆ เพื่อให้การทำงานราบรื่นมากที่สุด โดยแผนกที่ช่างซ่อมบำรุง ต้องติดต่อประสานงาน และทำงานร่วมด้วยมากที่สุด แบ่งได้เป็น 3 แผนก หลักๆ ดังนี้

  1. ฝ่ายผลิต

สำหรับแผนกที่ฝ่ายช่างซ่อมบำรุงต้องติดต่อประสานงาน หรือทำงานร่วมด้วยบ่อยที่สุดคงหนีไม่พ้นฝ่ายผลิต ที่ต้องใช้งานเครื่องจักรในการทำงานโดยตรง เมื่อเครื่องจักรเกิดปัญหา ขัดข้อง หรือเกิดความผิดปกติ ทางฝ่ายผลิตก็ต้องส่งคำร้อง หรือรายงานมายังช่างซ่อมบำรุง เพื่อเข้าหาสาเหตุและแก้ไขความขัดข้องนั้นๆ เพื่อให้เครื่องจักรกลับมาใช้งานได้ราบรื่นเหมือนเดิม ในทางกลับกัน หากฝ่ายช่างซ่อมบำรุงต้องการเข้าไปตรวจเช็กเครื่องจักรตามกรอบเวลาที่กำหนด ก็จะต้องแจ้งทางฝ่ายผลิตไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าตรวจเช็กเพื่อให้ทางฝ่ายผลิตวางแผนเผื่อการหยุดทำงานของเครื่องจักรชั่วคราวด้วยเช่นกัน

  1. ฝ่ายจัดซื้อ 

นอกเหนือจากงานแก้ไขและซ่อมแซมเครื่องจักรแล้ว หนึ่งในหน้าที่ของช่างซ่อมบำรุง ก็คือการสำรวจและวางแผนว่ามีชิ้นส่วน หรืออะไหล่ชิ้นไหนมีจำนวนเท่าไหร่ ขาดสต็อกหรือไม่ แล้วจัดทำรายการต่างๆ เหล่านั้นส่งให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการตรวจสอบ เปรียบเทียบราคา และจัดซื้อจัดหาผู้ผลิตที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสมต่อไป  

  1. ฝ่ายบัญชี 

ในระหว่างดำเนินงานซ่อมบำรุง หากต้องมีการออกนอกสถานที่ หรือการทำเบิกจ่ายค่าอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ ทางทีมช่างก็จำเป็นจะต้องติดต่อฝ่ายบัญชี เพื่อทำเอกสารวางบิลและเบิกจ่ายตามขั้นตอน เป็นต้น 

วรกุลชัย ดูแลด้วยช่างผู้ชำนาญ การันตีด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี

วรกุลชัย นอกจากการจัดจำหน่ายเครื่องจักรเกี่ยวกับแพคเกจจิ้งแบบครบวงจรที่ตอบโจทย์ ได้มาตรฐาน คุณภาพดี ในราคาที่คุ้มค่าแล้วนั้น เรายังมีแผนกช่างบริการ และอะไหล่ ไว้คอยให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ด้วยประสบการณ์อันยาวนานของบริษัท เรามีช่างซ่อมบำรุงที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องจักรอุตสาหกรรมมืออาชีพที่จะคอยให้คำปรึกษา แนะนำ ตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และประเมินการแก้ไขได้อย่างตรงจุด เพื่อลดปัญหาการซ่อมบำรุงที่ซ้ำซ้อน จุกจิก ยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายทีเกินความจำเป็น เพราะเราคำนึงถึงความคุ้มค่า ช่วยลดต้นทุนในการซ่อมบำรุง และการสร้างผลกำไรสูงสุดให้กับลูกค้าเป็นหลัก การันตีด้วยประสบการณ์ในวงการเครื่องจักรอุตสาหกรรมมากกว่า 30 ปี

วรกุลชัย ช่างซ่อมบำรุง

สรุป​

ช่างซ่อมบำรุง ​เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากเครื่องจักรเกิดความขัดข้อง จนไม่สามารถดำเนินการต่อได้ อาจส่งผลให้ ธุรกิจ​ได้รับผลกระทบ จนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบ​หน้าที่ในส่วนนี้จะต้องมีความชำนาญ​ รวมถึง​ความรู้ และประสบการณ์​เกี่ยวกับเครื่องจักร​และอุตสาหกรรม​นั้นๆ เป็นอย่างดี เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น ซ่อมเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น​

ที่วรกุล​ชัย​เรามีทีมช่างซ่อมบำรุงที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำการใช้งาน พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายผู้ชำนาญการยินดีให้คำปรึกษาในการเลือกเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพันฟิล์มยืด เครื่องซีลแก้ว เครื่องแพ็คกล่อง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม​ประเภท​ต่าง​ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในด้านกำลังการผลิต ​ให้กับธุรกิจ​คุณ​

สำหรับ​ใครที่สนใจ สามารถ​ติดต่อ​สอบถาม​และขอคำแนะนำเกี่ยวกับ​​เครื่อง​จักร​อุตสาหกรรม และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ได้ตามช่องทางที่คุณสะดวก​

Line​ ID​: @Worakulchai​

เบอร์โทร​: 02-868-5870-5

E-mail: info@worakulchai.com หรือสามารถติดตามเราได้ที่ช่องทาง : ​​https://www.youtube.com/@worakulchaipackagesealco.l2730